ข้อมูลทั่วไปของกศน.ตำบลปอน
ประวัติความเป็นมา
กศน.ตำบลปอน
ศูนย์การเรียนชุมชนเฉลิมพระเกียรติประจำตำบลปอน ประกาศจัดตั้งโดยผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน
ปฏิบัติราชการแทนในการประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนชุมชนในเขตพื้นที่จังหวัดน่าน โดยมีสถานที่จัดตั้ง ณ สถานีอนามัย(อาคารหลังเก่า) บ้านใหม่
หมู่ที่ ๕ ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง
จังหวัดน่าน ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕
บนเนื้อที่ประมาณ ๑ งาน
ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์สถานที่จากทางสาธารณสุขชุมชนประจำตำบลปอน ผู้นำหมู่บ้านและคณะกรรมการหมู่บ้านใหม่ หมู่ที่ ๕
อนุญาตให้ใช้อาคารสถานที่ เพื่อจัดกิจกรรมการเรียนการสอน กิจกรรมของการศึกษานอกโรงเรียน โดยมีอาณาเขตที่ติดต่อดังนี้ ทิศเหนือ
ติดกับ บ้านเรือนของราษฎร์
ทิศใต้ติดกับ
สาธารณสุขชุมชนตำบลปอน
และสภาวัฒนธรรมตำบลปอน
ทิศตะวันออกติดกับ ถนนสายน่าน – ทุ่งช้าง ทิศตะวันตกติดกับ พื้นที่การเกษตรของประชาชนบ้านใหม่ และบ้านปอน
วิสัยทัศน์ “จัดการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิต ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
สืบสานวัฒนธรรมประเพณี ส่งเสริมชุมชนมีประชาธิปไตย มุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
สืบสานวัฒนธรรมประเพณี ส่งเสริมชุมชนมีประชาธิปไตย มุ่งไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน”
ชื่อสถานศึกษา กศน.ตำบล ปอน
ต้นสังกัด ศูนย์การศึกนอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอทุ่งช้าง
สถานที่ติดต่อ บ้านใหม่ หมู่ ที่ ๕ ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง จังหวัดน่าน ๕๕๑๓๐
โทรศัพท์ : ๐๘๖-๑๘๐๘๔๗๐
สถานที่ตั้งศูนย์การเรียนชุมชน
กศน.ตำบลปอน ตั้งอยู่
ณ สถานีอนามัย(อาคารหลังเก่า) บ้านใหม่
หมู่ที่ ๕ ตำบลปอน อำเภอทุ่งช้าง
จังหวัดน่าน
ข้อมูลทั่วไปของตำบลปอน
๑.สภาพทางกายภาพของชุมชนตำบลปอน
ประวัติความเป็นมา
ตำบลปอน
ได้ก่อตั้งขึ้นเมือราวประมาณปีพุทธศักราช ๒๓๗๐
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
โดยในเริ่มต้นได้มีราษฎรจากบ้านหัวเวียงใต้ อำเภอเมืองน่าน
นานว่าท้าวเพชรได้ขึ้นมาล่าสัตว์ในเขตพื้นที่บ้านหมู่ ๖ ปัจจุบัน เพราะในเขตพื้นที่
ดังกล่าวเป็นป่าทึบมีสัตว์ป่าชุกชนที่ลงมากินดินโป่ง
ซึ่งปัจจุบันเป็นหนองน้ำอยู่กลางหมู่บ้านพื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าทึบไม่มีผู้คนมาถึง
ท้าวเพชรได้พบรอยเท้าคนจึงตามรอยเท้าดังกล่าวไป จึงไปพบคน ๔ คน เป็นคนป่า เป็นชาย
๒ คน เป็นหญิง ๒ คน ไม่มีที่อยู่อาศัยเป็นหลักแหล่งไม่มีภาษาพูด
พบว่าวัดเม็งซึ่งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหมู่บ้านปอนในปัจจุบัน
ท้าวเพชรจึงนำคนป่า ๔ คน กลับมาอยู่ที่ตำบลปอน มาตั้งหลักแหล่งเป็นคนแรก ท้าวเพชรได้มาตั้งรกรากครั้งแรกนั้นอยู่ที่บ้านอาน
ตั้งอยู่ที่ลำห้วยอานซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านปอนปัจจุบัน
อยู่ในเขตพื้นที่บ้านป่าเปือย ปัจจุบัน
ต่อมาท้าวเพชรได้ย้ายจากบ้านห้วยอานมาตั้งอยู่บ้านปอน ปัจจุบัน
เป็นต้นกำเนิดตำบลปอนในปัจจุบัน ต่อมาได้มีผู้คนอพยพมาจากพื้นที่อยู่อื่นมาอยู่รวมกันที่บ้านปอนมากขึ้น
เช่นมาจากเชียงลม เมืองเงิน แขวงไชยบุรี
ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวปัจจุบัน และอพยพมาจากบ้านงอบ เป็นต้น
คนป่าที่รับใช้ท้าวเพชรที่พระเจ้าน่านให้มารับใช้นั้น
ปัจจุบันมีเชื้อสายอยู่ที่บ้านสบหอย (บ้านไร่ไทรงามปัจจุบัน สาเหตุที่เรียกว่า
ตำบลปอน ก็เพราะว่า
ขณะที่ท้าวเพชรเข้ามาล่าสัตว์ในป่าที่ลงกินดินโป่งบริเวณหนองน้ำดังกล่าว
ซึ่งเรียกว่าหนองออน ท้าวเพขรได้พบแท่งเงินอยู่ริมหนองน้ำแห่งนี้ ท้าวเพชร
ได้นำเงินนั้นมา หนองออนนั้นเป็นต้นกำเนิดของลำห้วยออน ซึ่งปัจจุบัน ได้เพี้ยนมาเป็นลำห้วยปอน
ซึ่งไหลผ่านหมู่บ้านปอนปัจจุบันคำว่าปอนก็มาจากคำว่าออน
ประกอบกับได้แท่งเงินสีขาวปอน ซึ่งแปลว่าขาว
จึงเรียกหนองน้ำและลำห้วยเสียใหม่ว่าน้ำปอนจน ถึงปัจจุบันนี้
ตำบลปอนก็ตั้งชื่อตามลำน้ำปอน เมื่อได้ตั้งหมู่บ้านปอนนั้น
ท้าวเพชรก็ได้สถาปนาตนขึ้นเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเป็นคนแรก (พ.ศ. ๒๓๗๐ – ๒๓๗๙)
ต่อมาเมื่อท้าวเพชรถึงแก่กรรมแสนหลวงก็ได้ขึ้นเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเป็นคนต่อมา
(พ.ศ.๒๓๘๐ – ๒๓๙๗) ถึงจากแสนหลวงก็เป็นสมัยของแสนหลวง ไชยวุฒ ซึ่งในขณะนั้น ตำบลปอน
(บ้านปอนในขณะนั้น) ขึ้นรวมกับตำบลงอบพอหมดสมัยของแสนหลวง ไชยวุฒ พญาปัญญาอนุรักษ์เป็นผู้ใหญ่บ้านปอน
และเป็นกำนันตำบลปอนอีกตำแหน่ง เนื่องจากตำบลปอนได้แยกออกจากตำบลงอบ (พ.ศ.๒๔๐๘ – ๒๔๑๔)มาจัดตั้งเป็นตำบลปอน เพราะมีประชากรเพิ่มมากขึ้น
จึงได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นใหม่หลายหมู่บ้าน เมื่อสิ้นสมัยของพญาปัญญาอนุรักษ์ก็เปลี่ยนมาเป็น
แสนอักขรนุรักษ์ (แสนอักขระ) เป็นผู้นำตำบลปอน (พ.ศ.๒๔๑๕- ๒๔๒๔)
ต่อมานั้นก็มีนายกาละวงค์ สิทธิยศ เป็นผู้ใหญ่บ้าน
และดำรงตำแหน่งกำนันในเวลาต่อมาและได้รับพระราชทานนามว่า ขุนปอน ปราโมช
ในราวปี พ.ศ. ๒๔๒๕
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
และบ้านปอนอีกครั้ง และตำบลปอนก็ได้ถือกำเนิดมาจากบ้านปอน มาจนถึงปัจจุบัน
เนื้อที่และอาณาเขต
ตำบลปอน
มีพื้นที่ทั้งหมด ๖๔,๗๙๘ ไร่
ลักษณะภูมิประเทศ
ลักษณะภูมิประเทศตำบลปอนส่วนใหญ่เป็นเนินเขาขนาดเล็กสลับที่ราบเนินสูงและมี
ลำน้ำน่านตัดผ่านในพื้นที่ตำบลปอน พื้นที่ราบส่วนใหญ่อยู่ทางทิศใต้ได้แก่ หมู่ที่ ๓,๔,๕,๖,๗
และเป็นเนินสูงเป็นเขาได้แก่หมู่ที่ ๑,๒,๘
เขตการปกครอง
อาณาเขตทางทิศเหนือ
ติดต่อกับ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อาณาเขตทางทิศใต้
ติดต่อกับ ตำบลงอบ
อาณาเขตทางทิศตะวันออก ติดต่อกับ
ตำบลห้วยโก๋น อำเภอเฉลิมพระเกียรติ
อาณาเขตทางทิศตะวันตก
ติดต่อกับ ตำบลงอบ
ภูมิอากาศ
ลักษณะทางภูมิอากาศเป็นแบบมรสุม
มี ๓ ฤดู
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือน
มีนาคม ถึง เดือน พฤษภาคม อากาศร้อนจัดและแห้งแล้ง
ราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร
ฤดูฝน
เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึง เดือนกันยายน ปกติฝนตกชุกตลอดฤดูกาล
แต่บางปีมีฝนตกขาดช่วงเป็นเวลานาน
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือน
ตุลาคม ถึง เดือนมกราคม ช่วงเดือนพฤศจิกายน และธันวาคม
มักมีอากาศหนาวจัดและมีหมอกปกคลุมโดยทั่วไป
๒. สภาพทางสังคม –
ประชากร
จำนวนหลังคาเรือนทั้งหมด ๙๙๑ หลังคาเรือน ๘
หมู่บ้าน
หมู่ที่
|
หมู่บ้าน
|
ประชากร
|
ครัวเรือน
|
||
ชาย (คน)
|
หญิง (คน)
|
รวม (คน)
|
|||
๑
|
น้ำเลียง
|
๓๒๐
|
๒๙๓
|
๖๑๖
|
๑๘๐
|
๒
|
ไร่ไทรงาม
|
๑๔๕
|
๑๒๕
|
๒๗๑
|
๗๑
|
๓
|
หล่ายทุ่ง
|
๙๕
|
๑๑๗
|
๒๑๒
|
๖๔
|
๔
|
หนองคำ
|
๑๑๙
|
๙๗
|
๒๑๖
|
๘๗
|
๕
|
ใหม่
|
๑๕๖
|
๑๖๒
|
๓๑๘
|
๑๑๕
|
๖
|
ปอน
|
๘๕
|
๑๐๖
|
๑๙๑
|
๑๖๒
|
๗
|
ป่าเปือย
|
๑๗๕
|
๑๕๔
|
๓๒๙
|
๑๒๓
|
๘
|
เฉลิมราช
|
๓๐๖
|
๓๐๔
|
๖๑๐
|
๑๘๙
|
รวม
|
๑,๔๐๕
|
๑,๓๕๘
|
๒,๗๖๓
|
๙๙๑
|
๓.สภาพทางเศรษฐกิจ
- รายได้ของประชากร รายได้เฉลี่ยประชากร ๓๒,๕๐๐
บาท / คน
/ ปี
- ทรัพยากรธรรมชาติที่มีมากที่สุดในตำบล
ได้แก่ ๑.ดอกตองกง ๒.ไม้สัก
-
ผลผลิตทางการเกษตรที่มีมากที่สุดในตำบลได้แก่ ๑.ข้าวโพด ๒.เงาะ
รายชื่อกำนันผู้ใหญ่บ้าน
๑.
นายทนงค์ สะท้าน กำนันตำบลปอน
๒.
นายบาน หอมดอกพลอย ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๑ บ้านน้ำเลียง
๓.
นายเลิศ ฮังคำ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่
๒ บ้านไร่ไทรงาม
๔.
นายพูนทรัพย์พสิทธิ์ ภิวงค์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๓ บ้านหล่ายทุ่ง
๕.
นายสม หอมดอก ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่
๔ บ้านหนองคำ
๖.
นางพิณทอง กรุณาดวงจิต ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๕ บ้านใหม่
๗.
นายถนัด บานเย็น ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗ บ้านป่าเปือย
๘.
นายแสวง ท้าวคาม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่
๘ บ้านเฉลิมราช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น